วันอาทิตย์ที่ 29 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552

ในการประมวลผลภาพบนหน้าจอคอมพิวเตอร์นั้น จำเป็นจะต้องใช้ชิปประมวลผลกราฟิคเพื่อช่วยแสดงรายละเอียดในการแสดงผลภาพให้สมจริง คมชัด โดยรวมแล้วเราสามารถแยกประเภทของชิปประมวลผลเป็น 2 แบบใหญ่ๆ คือ แบบชิบบนตัวเมนบอร์ด (On-board graphic chip) และการ์ดแสดงผลซึ่งเป็นการ์ดเชื่อมต่อบนสล็อตบนเมนบอร์ด โดยการสังเกตว่าคอมพิวเตอร์ของเรารองรับการ์ดแสดงผลแบบใด จะต้องดูจากชิปเซต และดูว่ามีสล็อตประเภทใดที่รองรับการเชื่อมต่อการ์ดแสดงผลด้วย ปัจจุบันการ์ดแสดงผลมีการพัฒนาชิปประมวลผลให้ทันสมัยอยู่เสมอเพื่อให้สามารถรองรับการประมวลผลภาพที่สมจริง เรียกได้ว่าแทบจะทุกๆ 6 เดือนเลยก็ว่าได้ โดยมักจะเน้นในด้านการแสดงผลในเกมสามมิติ การแสดงแสงเงาที่สมจริงในฉากเกม นอกจากนี้ยังมีเหตุผลในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผลคือเรื่องของการรองรับการเชื่อมต่อ เช่น พอร์ต DVI เพื่อใช้เชื่อมต่อกับจอแสดงภาพแบบ Flat-panel เชื่อมต่อกับโทรทัศน์ หรือภาครับวิทยุ FM รวมถึงการเชื่อมต่อกับวีดีโอต่างๆ เช่น S-Video และการเชื่อมต่อ Component ทำให้การ์ดแสดงผลเป็นอุปกรณ์ชิ้นหนึ่งที่หลายคนพยายามไขว่หาการ์ดแสดงผลที่ดีที่สุด ยอดเยี่ยมที่สุดอยู่เสมอ ซึ่งนับว่าเป็นอุปกรณ์ที่เปลี่ยนกันบ่อยสำหรับนักเล่นเกมที่ต้องการความสามารถในการแสดงผลในระดับสูง โดยการ์ดแสดงผลรุ่นท็อปมักมีราคาในระดับ 1 – 2 หมื่นบาทเลยทีเดียว ประเด็นสำคัญที่จะต้องพิจารณาในการเลือกซื้อการ์ดแสดงผล



Interface เข้าใจง่ายๆคือรูปแบบการเชื่อมต่อ นั่นคือรูปแบบของการ์ดที่เชื่อมต่อกับตัวเมนบอร์ดนั่นเอง โดยปัจจุบันจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express ที่สามารถเชื่อมต่อกับสล็อต PCI Express สำหรับพีซีรุ่นใหม่ หรือสำหรับรุ่นเก่าจะรองรับรูปแบบการเชื่อมต่อ AGP โดยจะมีความเร็ว 8X 4X และ 2X ซึ่งปัจจุบันจะมีให้เลือกเป็น AGP 8X* และ PCI Express x16 คุณไม่สามารถนำการ์ดแสดงผลแบบ AGP ติดตั้งลงในช่องเสียบการ์ดแบบ PCI Express โดยรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express จะมีความเร็วในการโอนถ่ายข้อมูลมากกว่า AGP โดยทางทฤษฎีจะมีความเร็ว 16X ซึ่งเร็วกว่า 8X) สำหรับเมนบอร์ดรุ่นใหม่ๆจะมีรูปแบบการเชื่อมต่อแบบ PCI Express Graphic Processor เหมือนมันสมองในการประมวลผล โดยปัจจุบันเกมต่างๆได้รับการพัฒนาให้สามารถแสดงผลในรูปแบบสามมิติ ต้องขอบคุณการ์ดแสดงผลในปัจจุบันที่รองรับการแสดงผลที่สมจริงมากยิ่งขึ้น โดยชิปประมวลผลกราฟิก (Graphic Processing Unit : GPU) นั้นมีผลกับคุณภาพในการประมวลผลภาพมาก โดยชิปประมวลผลภาพจะแบ่งเป็น 2 ค่ายคือ nVidia และ ATi



ความสามารถในการแสดงผลภาพของการ์ดแสดงผลประสิทธิภาพสูงจะสามารถเรนเดอร์ภาพได้อย่างรวดเร็ว ทำให้ภาพที่ออกมาสวยงาม สดใส ไม่สะดุด ไม่มีการกระตุกให้เห็นในการเล่นเกมส์ รับชมภาพยนตร์ โดยจะมีการวัดค่าในการแสดงผลภาพในหน่วยเฟรมต่อวินาที (Frame per second เรียกย่อๆว่า fps) เช่นการรับชมภาพ 30 fps คือการรับชมภาพที่ 30 เฟรมต่อวินาที (ต้องอธิบายก่อนว่าภาพที่เราเห็นนั้น จะมีการเปลี่ยนเฟรมของภาพอย่างรวดเร็วจนตาของเราจับไม่ทัน ทำให้ภาพมีความต่อเนื่อง หากมีการแสดงผลเฟรมภาพได้มาก ก็จะแสดงภาพได้อย่างนิ่มนวลมากยิ่งขึ้น โดยคุณสมบัติของการ์ดแสดงผลที่ต้องนำมาพิจารณาคือ Pixel Shading การแสดงผลภาพ, Transparency การแสดงภาพความคมชัด ความลึกของภาพ, High Dynamic-rang lighting การสร้างแสงเงาของภาพ และความละเอียดในการแสดงผลภาพ เช่น 1600x1200 จะใช้กับหน้าจอที่แสดงผลภาพขนาดใหญ่ นอกจากนี้ยังมีคุณสมบัติ Antialiasing การเปิดคุณสมบัติทำให้ภาพมีความสมูท ไหลลื่น นิ่มนวล ไม่ดูแข็งกระด้าง



ในปัจจุบันเกมส่วนใหญ่มักจะใช้คุณสมบัติ DirectX 9 เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการแสดงผลภาพให้คมชัด ยอดเยี่ยม นำประสิทธิภาพของฮาร์ดแวร์มาใช้เร่งความเร็วในการแสดงผลกราฟิกมากยิ่งขึ้น หน่วยความจำ ในการใช้งานด้านกราฟิก เช่น การเล่นเกมส์ ตัดต่อวีดีโอ จำเป็นต้องอาศัยการส่งผ่านข้อมูลไปฝากไว้ในหน่วยความจำสำหรับรอการประมวลผลภาพในแสดงผลต่อไป ซึ่งในปัจจบันเกมต่างๆต้องการเนื้อที่หน่วยความจำจำนวนมากในการประมวลผล โดยการ์ดแสดงผลมักมากับหน่วยความจำชนิด GDDR3 ขนาด หน่วยความจำอย่างน้อย 128MB โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้งานกับ Windows Vista ระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตกับคุณสมบัติ Aero Glass ส่วนในระดับเมนสตรีมแนะนำให้ใช้ขนาดหน่วยความจำที่ 256MB จนถึง 512MB โดยในปัจจุบัน (ไตรมาสที่ 1/2006) หน่วยความจำขนาด 512MB เป็นขนาดหน่วยความจำที่มากที่สุด ในเกมเก่าๆ ขนาดหน่วยความจำ 128MB อาจไม่เพียงพอต่อความต้องการในการเล่นเกม หากต้องการอัตราการแสดงผลเฟรมภาพที่สูง และสามารถรองรับการแสดงผลที่ความละเอียด 1600x1200 pixels ควรมีขนาดหน่วยความจำที่ 256MB แต่ความต้องการอาจไม่ได้มากขนาดนั้น สำหรับคนที่เล่นเกมเก่าๆอยู่อาจยังไม่ถึงเวลาอัพเกรด จนกว่าจะมีเกมใหม่ๆที่ถูกใจออกมาจึงค่อยทำการอัพเกรดภายหลัง ในชิประมวลผลกราฟิกในบางรุ่น เช่นเมนบอร์ดในเครื่องพีซี (หรือโน้ตบุค) อาจใช้หน่วยความจำหลักของระบบมาใช้ในการประมวลผลภาพด้วย ซึ่งจะแบ่งส่วนหน่วยความจำของระบบไปใช้ในการแสดงผลภาพกราฟิก ทำให้หน่วยความจำที่ใช้ในระบบปฏิบัติการลดน้อยลง หากหน่วยความจำระบบน้อยเพียง 128MB เมื่อถูกแบ่งไปใช้งานด้านกราฟิกอาจทำให้เหลือหน่วยความจำเพียงแค่ 96MB เท่านั้น แต่สำหรับชิปบนเมนบอร์ดในบางรุ่น เช่น Intel Celeron อาจมีชิปประมวลผลภาพกราฟิกมาให้ นั่นหมายถึงมีหน่วยความจำในตัวชิปต่างหากด้วย นอกจากนี้ยังมีเทคโนโลยีในการจัดการหน่วยความจำโดยจัดสรรหน่วยความจำของระบบมาใช้กับการ์ดแสดงผลครึ่งหนึ่ง คือเทคโนโลยี TurboCache จาก nVidia และ HyperMemory จาก ATi พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต




กราฟิกการ์ดรุ่นใหม่ๆจะให้พอร์ตเชื่อมต่อ 2 พอร์ต โดยอาจจะให้พอร์ต DVI (Digital) และพอร์ต VGA (Analog) หรือให้พอร์ต DVI ทั้ง 2 พอร์ตเลยก็เป็นได้ โดยการเชื่อมต่อแบบ DVI จะส่งสัญญาณแบบดิจิตอล ซึ่งให้คุณภาพในการแสดงผลที่ดีกว่าแบบอนาล็อค (พอร์ต DVI มักให้มากับจอภาพแบบ LCD) หรือจอแสดงผลระดับสูงที่รองรับการส่งผ่านข้อมูลแบบดิจิตอล สำหรับพอร์ต VGA หรือพอร์ค D-Sub 15 pin คือพอร์ตที่ใช้ต่อจอมอนิเตอร์แบบ CRT ทั่วๆไป จุดเด่นของการเชื่อมต่อจอแสดงผลแบบนี้คือสามารถเชื่อมต่อจอภาพได้มากถึง 2 - 4 จอเลยทีเดียว ทำให้เพิ่มพื้นที่การทำงานโปรแกรมต่างๆได้มากขึ้น หากการ์ดแสดงผลของคุณไม่มีพอร์ต VGA คุณก็สามารถเชื่อมต่อจอภาพแบบ DVI ผ่านทางตัวแปลง DVI-to-VGA ได้

เทคโนโลยีในการ์ดแสดงผลที่ช่วยในการลบรอยหยักของภาพ ช่วยให้ภาพเคลื่อนไหวอย่างราบรื่น ไม่มีสะดุด มีความคมชัดของภาพในระดับที่ไม่คมเกินไปนัก ภาพจะดูนุ่มนวลสบายตา คุณสมบัตินี้จะช่วยในการแสดงผลภาพในความละเอียดต่ำที่ภาพจะแตก หยาบ แสดงผลภาพในอัตราเฟรมเรตที่ต่ำ ทำให้ภาพที่ออกมาไม่แยกและหยาบจนเกินไป โดยคอเกมส์อาจเลือกเปิดคุณสมบัติเพื่อให้ภาพที่ละเอียด ราบรื่นยิ่งขึ้น หรือมีประสิทธิภาพในการแสดงผลสูงขึ้น การรองรับการเชื่อมต่อแบบ Dual GPU